Mecha Story: Update เน้นไซด์สตอรี

ของเคสเทรลกระทู้หายไปตอนบอร์ดล่ม ได้ฤกษ์ลงใหม่หมดเลย







รถถังรุ่น61

รถถังซึ่งเป็นกำลังหลักภาคพื้นดินของสหพันธ์โลกในช่วงสงครามหนึ่งปีก่อนจะเริ่มใช้งานMS รถถังรุ่น61นั้นใช้งานไม่ต่างจากรถถังในยุคก่อนศักราชUC แต่ระบบภายในนั้นได้รับการปรับปรุงเป็นระบบอัตโนมัติจนไม่จำเป็นต้องมีพลนำร่องและพลบรรจุกระสุนอีก เหลือแต่พลปืนกับพลขับเท่านั้น ขณะปฏิบัติการนั้นรถถังรุ่น61จะใช้การสื่อสารผ่านดาวเทียมเพื่อประสานงานกับหน่วยรบอื่นๆได้ มีอาวุธหลักเป็นปืนใหญ่150ม.ม.สองกระบอก กับปืนกล12.7ม.ม.ติดด้านนอกสำหรับใช้ยิงต่อสู้กับทหารราบในระยะประชิด ทั้งยังติดตั้งเครื่องปล่อยม่านควันพรางตาไว้



แต่รถถังรุ่น61นั้นก็เป็นอาวุธที่ออกแบบโดยไม่ได้คำนึงถึงการใช้งานในสนามรบที่มีอนุภาคมินอฟสกีรบกวนการสื่อสารและเรดาร์ ในสภาพที่ทั้งเรดาร์และระบบวิทยุสื่อสารใช้การแทบไม่ได้และต้องพึ่งสายตาในการสู้รบนั้น แม้ว่าความสามารถในการต่อสู้ภาคพื้นดินของซาคุทูว์จะต่ำกว่าในอวกาศก็ยังนับว่าสูงกว่ารถถังรุ่น61 เพียงแต่สหพันธ์โลกมีกำลังที่เหนือกว่าซีอ้อนมากจึงสามารถชดเชยความแตกต่างด้วยจำนวนได้ รถถังรุ่น61มีรุ่นย่อยคือM61A5 ซึ่งเพิ่มขนาดปืนใหญ่เป็น155ม.ม.และเปลี่ยนปืนกลด้านนอกเป็นสองกระบอก M61A5ยังใช้คนบังคับเพียงคนเดียว ซึ่งทำให้การควบคุมยุ่งยากมากขึ้น





RXF-91 ซิลลูเอ็ทกันดั้ม

หนึ่งในMSจากโปรเจ็คท์ซิลลูเอ็ทฟอร์มูลาร์ของแอนาไฮม์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นMSแบบลดขนาดที่พัฒนาโดยใช้ข้อมูลซึ่งขโมยมาจากของSNRIและสร้างมาเพื่อศึกษาการทำงานพร้อมกับปรับปรุงให้ดีขึ้น (ไม่ยากนัก เพราะSNRIนั้นต้องส่งชิ้นส่วนของGแคนน่อนให้AEเอาไปผลิตให้อยู่แล้ว มีโอกาสที่ข้อมูลรั่วได้เต็มไปหมด)



ซิลลูเอ็ทกันดั้มนั้นเป็นเครื่องที่สร้างเลียนแบบกันดั้มF91 แม้ลักษณะภายนอกจะแตกต่างกันแต่ระบบภายในและการทำงานนั้นแทบจะเหมือนกัน จุดสำคัญที่แตกต่างกันก็คือไม่มีไบโอคอมพิวเตอร์และระบบเกราะแบบมัลติเลเยอร์ซึ่งแอนาไฮม์นั้นไม่สามารถสร้างเลียนแบบได้ แอนาไฮม์ยังได้ติดตั้งคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงที่เรียนรู้การบังคับจากนักบินได้ให้เพื่อเก็บข้อมูลไปศึกษาพัฒนาทำให้การบังคับซิลลูเอ็ทกันดั้มยากกว่าปกติ เครื่องกำเนิดบีมชิลด์จะใหญ่กว่าปกติ แบ็คแพ็คVSBRนั้นไม่สามารถถอดออกมาได้เหมือนของF91เนื่องจากวิศวกรของแอนาไฮม์ใช้คอนเดนเซอร์ที่มีขนาดใหญ่กว่าของSNRI แต่สามารถปรับระบบมาใช้เป็นบีมแคนน่อนธรรมดาได้ในกรณีที่VSBRทำงานผิดปกติ ซิลลูเอ็ทกันดั้มใช้เครื่องกำเนิดพลังงานที่มีกำลังมากกว่าของF91



แอนาไฮม์อิเล็กทรอนิกส์ได้ทำการทดสอบMSของโปรเจ็คท์ซิลลูเอ็ทฟอร์มูลาที่ซีบราโซน โดยมีโทคิโอะ แรนดัล เป็นนักบินทดสอบ ต่อมาในการต่อสู้กับหน่วย306ของสหพันธ์จึงได้เลย์ลา ลากิออร์เป็นนักบินแทน



หลังการต่อสู้กับครอสโบนแวนการ์ด ซิลลูเอ็ทกันดั้มจึงได้รับการปรับปรุงเป็นRXF-91A ซึ่งรุ่นปรับปรุงนี้ใช้เครื่องกำเนิดพลังงานที่มีกำลังมากขึ้นอีก ติดตั้งท่อขับดันเสริมตามจุดต่างๆ และเสริมเกราะบริเวณค็อกพิตกับช่องระบายอากาศให้หนาขึ้น แขนขวาติดตั้งเกรเน็ดลันเชอร์ไว้แทนบีมสเปรย์กันและใช้VSBRที่ปรับปรุงให้ช่วยเสริมประสิทธิภาพของAMBAC รวมทั้งสามารถดึงออกมาใช้เป็นบีมไรเฟิลธรรมดาได้ ส่วนบีมไรเฟิลหลักนั้นกลายเป็นแบบสองลำกล้องซึ่งติดท่อขับดันขนาดเล็กไว้





ORX-007 ฮาติ

MAสำหรับให้มนุษย์ดัดแปลงใช้งานที่สถานีวิจัยโอ็คแลนด์พัฒนารูปแบบมาจากบราวโบรของซีอ้นในสมัยสงครามหนึ่งปี ฮาติสามารถแปลงร่างได้ระหว่างโหมดขับเคลื่อนกับโหมดต่อสู้ซึ่งคล้ายกับม้าน้ำ ที่ปลายปีกของฮาติเป็นบิตแบบโยงสายเคเบิลเหมือนบราวโบร ซึ่งปืนหลักของบิตนี้มีอานุภาพเทียบได้กับไฮเปอร์เมก้าลันเชอร์ และยังติดปืนเสริมเอาไว้อีกสองกระบอก ส่วนด้านล่างของฮาตินั้นเป็นช่องเก็บมิสไซล์ ฮาติยังมีสนามพลังIฟิลด์ไว้ป้องกันตัวและสามารถใช้ระบบไซคอมมิวบังคับ ORX-009 กันดั้มสคอลซึ่งเป็นยูนิตคุ้มกันได้จากระยะห่าง





MSW-004 กันดั้มเคสเทรล

เดิมทีมีชื่อว่ากุลลินบรุสที และเป็นกันดั้มรุ่นต้นแบบที่สถานีวิจัยโอ็คแลนด์ออกแบบให้มนุษย์ดัดแปลงของทิทานส์ใช้โดยเฉพาะ กุลลินบรุสทีติดตั้งเครื่องยนต์ถึงสามเครื่องที่ลำตัวและขาทั้งสองข้าง ท่อขับดันหลักนั้นเป็นแบบจุดชนวนด้วยเลเซอร์เหมือนที่ยานอัลเบียนใช้ นอกจากสมรรถนะที่สูงมากแล้วยังได้เสริมระบบกึ่งไซคอมมิวไว้กับโครงสร้างเพื่อเพิ่มอัตราตอบสนองต่อการบังคับ เรียกว่า"ชาแมนเฟรม" กุลลินบรุสทีมีระบบคอร์บล็อก แต่ส่วนMSจะประกอบเป็นชิ้นเดียวโดยยานคอร์ไฟเตอร์นั้นจะประกอบเข้าไปเป็นแบ็คแพ็ค จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของกุลลินบรุสทีก็คือมีเซนเซอร์หลักแบบโมโนอายอยู่ที่หน้าอก ฉะนั้นแม้ส่วนหัวจะถูกทำลายก็ไม่ได้ทำให้ประสิทธิภาพในการต่อสู้ลดลงไปแต่อย่างใด



แต่โอ็คแลนด์นั้นต้องการสนับสนุนเอวโกมากกว่า จึงได้จัดฉากให้เอวโกใช้กำลังบุกเอากุลลินบรุสทีไป ซึ่งเอวโกก็ได้เอากุลลินบรุสทีไปทดสอบที่ยานท่าชั้นลาเวียนโรสของแอนาไฮม์ โรซากิกันเทีย แต่ระหว่างการทดสอบนั้นปรากฏว่ากุลลินบรุสทีมีสมรรถนะที่สูงมากจนนักบินปกติจะทนแรงกดดันขณะขับเคลื่อนไม่ได้ หลังจากเปลี่ยนนักบินทดสอบไปสามคน กุลลินบรุสทีที่ประสพอุบัติเหตุระหว่างการทดสอบก็ได้รับเสียหายพอสมควร เนื่องจากโอ็คแลนด์ไม่ได้ให้อะไหล่มาด้วย แอนาไฮม์จึงได้ดัดแปลงใหม่โดยตั้งชื่อว่า MSW-004 กันดั้ม "เคสเทรล" พร้อมกับเลือกแวน อาซิเลียโนมาเป็นนักบินคนที่สี่ เนื่องจากประวัติที่ใช้งานแวกเทลทูว์ได้อย่างน่าประทับใจ



เคสเทรลนั้นใช้อาวุธแบบมาตรฐาน แต่บีมไรเฟิลจะมีอานุภาพมากกว่าปกติ โล่ของเคสเทรลมีขนาดเล็ก แต่ติดตั้งบีมเซเบอร์ที่ปรับองศาแยกกันได้ไว้สามเล่มซึ่งเมื่อใช้พร้อมกันจะไม่สามารถใช้บีมเซเบอร์เล่มเดียวรับได้ ที่หัวเข่า แขนสองข้าง และไหล่นั้นมีอุปกรณ์ปล่อยบีมซึ่งติดไว้กับแขนกลให้พับหันทิศทางหรือถอดออกได้ โดยที่แขนกับหัวเข่านั้นใช้เปิดเป็นบีมเบลดขนาดใหญ่ได้ ส่วนที่ไหล่เป็นบีมกัน จุดที่ติดตั้งอุปกรณ์ปล่อยบีมนี้ยังเป็นจุดเชื่อมต่อสำหรับอุปกรณ์เสริมอื่นๆได้อีก



หลังจากที่ระบบเลเซอร์จุดชนวนของเคสเทรลได้รับความเสียหายในการต่อสู้กับMA รากษส เคสเทรลจึงใช้แบ็คแพ็คแบบท่อขับดันปกติแทน แต่เพื่อให้ความเร็วเท่าเดิม จึงได้ติดตั้งเบรกไบน์เดอร์สี่ข้างไว้ที่ไหล่ซึ่งมีทั้งท่อขับดันและบีมกัน เบรกไบน์เดอร์นี้ยังสามารถใช้เป็นอาวุธกึ่งไซคอมมิวแบบติดสายเคเบิลได้ และการโบกของเบรกไบน์เดอร์ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบAMBACของเคสเทรลอย่างมาก แต่เนื่องจากมันมีน้ำหนักมาก จึงทำให้สมดุลย์ของเครื่องลดลงและบังคับยากขึ้นไปด้วย



นอกจากเบรกไบน์เดอร์แล้ว เคสเทรลยังสามารถสวมเกราะเสริมแข็งแกร่งได้ ซึ่งเดิมทีเกราะนี้ออกแบบไว้เพื่อลดความเสียหายของเคสเทรลจากการใช้ความเร็วสูงอย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจากมีน้ำหนักมากจึงกลายเป็นทำให้ความเร็วของเคสเทรลลดลงมาแทน แต่โครงสร้างที่แข็งแกร่งขึ้นก็ทำให้เคสเทรลสามารถติดตั้งอุปกรณ์ได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอาวุธหนักอย่างเมกาลันเชอร์หรือลิเนียร์กันติดแบ็คแพ็ค รวมทั้งสามารถติดถังเชื้อเพลิงเพื่อเพิ่มขอบเขตการปฏิบัติการได้ พาร์ทเกราะนี้ยังฉาบบีมโคตไว้ด้วย



ในศึกสุดท้ายกับทิทานส์นั้น เคสเทรลก็ใช้ทั้งเบรกไบน์เดอร์กับเกราะ รวมทั้งแบ็คแพ็คระบบเลเซอร์จุดชนวนเลเซอร์ เป็นฟุลอาเมอร์กันดั้มเคสเทรล ซึ่งทำให้เคสเทรลมีทั้งความแข็งแกร่งของเกราะและความเร็วในระดับสูงสุด





ORX-009 กันดั้มสคอล

กันดั้มเครื่องที่สองที่โอ็คแลนด์ติดตั้งชาแมนเฟรมให้ กันดั้ม”สคอล” เป็นยูนิตคุ้มกันของMA ฮาติของทิทานส์ ชาแมนเฟรมของสคอลนั้นทำให้นักบินของฮาติสื่อสารกับสคอลได้ด้วยระบบไซคอมมิวหรือแม้แต่ใช้พลังจิตบังคับเองเลยก็ได้ เพียงแต่สคอลจะต้องอยู่ในระยะ 10 กิโลเมตรจากฮาติ ตัวสคอลเองนั้นมีอาวุธเป็นบีมไรเฟิลขนาดใหญ่ บีมเซเบอร์ที่เอว และโล่ขนาดใหญ่ ซึ่งภายในโล่นี้มีจรวดขนาดเล็กสำหรับใช้ยิงสร้างม่านอนุภาคสำหรับป้องกันบีมได้ สคอลยังสามารถแปลงร่างเป็นMAได้ โดยในร่างนี้จะยิงบีมเซเบอร์เหมือนบีมกันได้และเท้าที่ยื่นไปด้านหน้านั้นก็จะใช้เป็นกงเล็บได้เช่นกัน ตอนที่ทิทานส์ใช้งานสคอลนั้นยังติดเกราะไม่เสร็จสมบูรณ์ดี โอ็คแลนด์จึงแก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยการฉาบนาโนคาร์บอนกับบีมโคตในจุดที่ยังไม่ได้หุ้มเกราะให้
Super Robot Wars Games Mecha Story

ร่วมแสดงความเห็น

ติดต่อเรา