ข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับ ประเพณีสงกรานต์

[color=blue]ประเพณีสงกรานต์[/color]



ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย ซึ่งยึดถือปฏิบัติสืบเนื่องกันมาแต่โบราณ และเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่งดงามฝังลึกอยู่ในชีวิตของคนคำว่า “สงกรานต์” มาจากภาษาสันสฤต แปลว่า ผ่านหรือเคลื่อนย้าย หมายถึง การเคลื่อนไทยมาช้านาน



การย้ายของพระอาทิตย์เข้าไปจักรราศีใดราศีหนึ่ง จะเป็นราศีใดก็ได้ แต่ความหมายที่คนไทยทั่วไปใช้ หมายเฉพาะวันและเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษในเดือนเมษายนเท่านั้น



[color=blue]ความหมายของคำว่า"สงกรานต์"[/color]



สงกรานต์ เป็นคำภาษาสันสกฤต แปลว่า ผ่าน หรือ เคลื่อนย้ายเข้าไป ซึ่งในที่นี้หมายถึง พระอาทิตย์ผ่านหรือเคลื่อนย้ายเข้าไปในจักรราศีใด ราศีหนึ่ง ก็เรียกว่าสงกรานต์จักรราศี คือวงกลม เป็นรูปไข่อยู่บนท้องฟ้า ซึ่งสมมุติว่า เป็นทางที่พระอาทิตย์ พระจันทร์ ดาวพระเคราะห์โคจรผ่านเข้าไป โคจร แปลว่าทางไปของโค แต่ในที่นี้ไม่ได้แปลว่า วัว แต่หมายถึงพระอาทิตย์ และใช้ได้ตลอดถึง พระจันทร์และดาวพระเคราะห์ด้วยจักรราศีนั้นแบ่งออกเป็นตามขวางออกเป็น ๑๒ส่วนเท่ากัน หรือ ๑๒ ราศี ซึ่งแต่ละราศีก็มีกลุ่มดาวอยู่ในนั้น เป็นเฉพาะของราศีหนึ่ง ๆ (แต่เดี๋ยวนี้เคลื่อนที่ไปแล้ว) เหตุนี้ ราศี จะแปลว่ากลุ่มดาว ก็ได้ เพราะคำว่าราศี ก็แปลว่า กอง ว่า หมู่ เช่น บุญราศี ก็แปลว่า กองบุญ กลุ่มดาวที่อยู่ในราศีหนึ่งๆ มีดวงดาวในกลุ่มหลายดวงเรียงรายเป็นรูปต่างๆ ไม่เหมือนกัน และเขาสมมุติ รูปของกลุ่มดาวเหล่านี้ เช่น เป็นกลุ่มดาวแพะ กลุ่มดาววัว และอื่นๆ เป็นต้นจนครบ ๑๒ ราศี พระอาทิตย์เมื่อโคจรเข้าไปในราศีใด และกว่าจะผ่านพ้นราศีนั้นไปสู่อีกราศีหนึ่งก็เป็นเวลาเดือนหนึ่ง เมื่อผ่านไปครบ๑๒ราศีก็เป็นเวลาได้ปีหนึ่งโดยประมาณราศีนั้น ถ้าแบ่งตามมาตราวัดของจักรราศีก็เป็น ราศีละ ๓๐ องศา รวมทุกจักรราศีก็เป็น ๓๖๐ องศา กลุ่มดาวที่อยู่ในราศีหนึ่งๆไม่ใช่ว่าอยู่ในราศีที่แบ่ง ไว้โดยเด็ดขาด เพราะมีดวงดาวบางดวงในกลุ่มของราศีหนึ่งคาบเกี่ยวหรือเหลื่อมล้ำเข้าไปในราศีอื่นก็มี เหตุนี้ในการแบ่งเดือนจึงมีจำนวนวันและเวลาไม่เท่ากันเสมอไป ที่เราตั้งชื่อเดือนว่า เมษายน พฤษภาคม ฯลฯ จนถึงมีนาคม ก็ตั้งจากรูปของกลุ่มดาวในจักรราศี เมษายน ก็คือ กลุ่มดาวแพะ พฤษภาคม ก็คือ กลุ่มดาววัว คำว่าแพะ ในภาษาสันสกฤตเรียกว่า เมษ เอาคำว่า อายน ซึ่งแปลว่า การมาถึง เข้าไปต่อ เชื่อมกันก็เป็น เมษายน คำว่า วัว ในภาษาสันสกฤตเรียกว่า พฤษภ และนำคำว่า อาคม ที่แปลว่าการ มาถึง เช่นกัน มาเชื่อมกันเป็น พฤษภาคม ที่เราแยกคำเชื่อมต่อท้ายว่า อาคมบ้าง อายนบ้าง ก็เพื่อแบ่ง วันที่มี ๓๐ วันบ้าง ๓๑ วันบ้าง ให้เป็นเครื่องสังเกตได้ง่าย อนึ่งที่ว่า พระอาทิตย์โคจรหรือเคลื่อนไปใน อากาศนั้น เป็นเรื่องที่คนโบราณเห็นอย่างนั้น ถึงเดี๋ยวนี้เราก็เห็นว่าเป็นเช่นนั้น แต่ทางวิทยาศาสตร์บอกว่าโลกพิภพที่เราอยู่นี่ต่างหาก ซึ่งเคลื่อนย้ายไปรอบดวงอาทิตย์ถึงจะเป็นโลกพิภพเคลื่อนย้ายไป หาใช่ ดวงอาทิตย์ไม่ก็ดี แต่เมื่อว่าในทางคำนวณเกี่ยวกับเวลาก็ได้ผลลัพธ์เท่ากัน เมื่อพระอาทิตย์แรกย้ายราศี คือย้ายจากดาวกลุ่มหนี่ง และย่างไปสู่หมู่ดาวอีกกลุ่มหนึ่ง เรียก เป็นคำของภาษาโหรว่า ยกไปสู่ หรือยกขึ้นสู่ ตัวอย่างเช่น พระอาทิตย์ยกขึ้สู่ราศีเมษ ตั้งแต่วันอังคาร เดือน ๕ แรมค่ำหนึ่ง เวลาย่ำค่ำ ๒๔ นาที แล้วยกไปสู่ราศีพฤษภ วันจันทร์เดือน ๗ แรม ๔ ค่ำ เวลา ๓ ยาม กับ ๓๖ นาที ดังนี้เป็นต้นไป วันและเวลาที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่อีกราศีหนึ่ง ท่านเรียกว่าสงกรานต์ เดือน เพราะย้ายไปราศีละเดือน แต่ในวันและเวลาที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ คือในเดือนเมษายน เขา เรียกเป็นพิเศษว่า มหาสงกรานต์ เพราะถือว่าเป็นวันและเวลาที่ตั้งต้นเป็นปีใหม่ โดยเหตุที่ประชาชน สนใจแต่วันขึ้นปีใหม่ เมื่อพูดว่าสงกรานต์ก็นึกถึงวันมหาสงกรานต์ ส่วนสงกรานต์ของเดือนอื่นไม่เข้าใจ และสนใจ คำว่า สงกรานต์จึงหมายถึงมหาสงกรานต์เฉพาะไป



[color=blue]ความสำคัญ[/color]



"วันตรุษ" เป็นวันสิ้นปี ไม่ได้นับตามสุรยคติเหมือนวันมหาสงกรานต์ แต่นับตามจันทรคคิ โดยกำหนดวันที่ 15 ค่ำ เดือน 4 ครั้นขึ้นเดือน 5 ถึงวันสงกรานต์ก็เปลี่ยนศักราช



วันสงกรานต์ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยตั้งแต่สมัยโบ ราณ คำว่า สงกรานต์ มาจากภาษาสันสกฤตว่า" สงกรานติ" ออกเสียงแบบล้านนาคือ "สังขาร" ที่แปลว่า "ก้าวย่าง" "ย่างขึ้น" แปลว่าการเคลื่อนหรือย้าย เมื่อใช้ในความหมายของวันขึ้นปีใหม่นั้นจึงหมายถึง วันที่พระอาทิตย์ย้ายจากราศีหนึ่งไปยังอีกราศีหนึ่ง ซึ่งจะเกิดขึ้นในทุกเดือน เรียกว่าสงกรานต์เดือน แต่เมื่อครบ 12 เดือนดวงอาทิตย์ย่งสู่ราศีเมษ แต่วันที่ ๑๓ เมษายน นั้นเรียกว่า สงกรานต์ปี ถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ทางสุริยคติ หมายถึงการที่พระอาทิตย์ได้เคลื่อนย้ายเข้าสู่จักรรา ศี (คือวงกลมเป็นรูปไข่บนท้องฟ้าซึ่งสมมุติว่า เป็นทางที่พระอาทิตย์ พระจันทร์ และดาวเคราะห์โคจรผ่าน จักรราศี แบ่งเป็น ๑๒ ส่วน หมายถึง ๑๒ ราศี ซึ่งแต่ละราศีก็มีกลุ่มดาวอยู่ประจำราศีนั้น ๆ) เมษอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะตรงกับวันที่ ๑๓เมษายน เรียกว่า วันมหาสงกรานต์ วันที่ ๑๔ เมษายน เรียกว่า วันเนา และวันที่ ๑๕ เมษายน เรียกว่า วันเถลิงศก วันสงกรานต์ในสมัยโบราณนั้นถือว่าเป็นช่วงแห่งการพัก ผ่อน เนื่องจากว่างเว้น จากฤดูกาลเก็บเกี่ยว รวมถึงเป็นช่วงฤดูร้อนทำให้เกิดประเพณีการละเล่นสาดน้ำกัน



[color=blue]ประวัติวันสงกรานต์[/color]



ในสมัยโบราณได้ถือวันสงกรานต์เป็นวันปีใหม่นั้น เนื่องจากประเทศที่อยูในแถบร้อนถือว่าช่วงเวลาเริ่มต ้นฤดูร้อนนั้นเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุด ด้วยว่างเว้นจาก การทำการเกษตร อีกทั้งอากาศที่หนาวเย็นก็ผ่านพ้นไปแล้ว ด้วยในช่วงฤดูหนาวนั้นเป็นช่วงที่ทุก ๆ อย่างนั้น หยุดนิ่งไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ก็หยุดผลิดอกออกผล สัตว์ทั้งหลาย ก็หยุดนิ่งนอนจำศีล ด้วยอากาศที่หนาวเย็นนั้นไม่สะดวกในการใช้ชีวิต หรือการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายนั่นเอง



วันสงกรานต์จึงเป็นประเพณีการขึ้นปีใหม่ในประเทศแถบร ้อน ซึ่งแตกต่างจากประเทศแถบหนาวดังที่กล่าวไว้ในเรื่องข องวันปีใหม่ วันสงกรานต์มีทั้งหมด ๓ วันด้วยกัน ได้แก่



วันที่ ๑๓ เมษายน วันมหาสงกรานต์ หรือวันส่งท้ายปีเก่า หมายถึง ก้าวหรือย่างขึ้นครั้งใหญ่ คือ สงกรานต์ปี การที่พระอาทิตย์โคจรเข้าสู่ราศีเมษ เป็นวันทำความสะอาดใหญ่ ชำระล้างร่างกาย และจิตใจให้ใสสะอาด เริ่มมีการเล่นสาดน้ำเป็นวันแรก



วันที่ ๑๔ วันกลาง หรือวันเนา หมายถึง อยู่คือวันที่ถัดมาจากวันมหาสงกรานต์ ๑ วัน การที่พระอาทิตย์เข้ามาอยู่ในราศีเมษเรียบร้อยแล้ว เป็นวันที่มักมีการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านมากมา ยเช่น ขนทรายเข้าวัด ก่อพระเจดีทราย ขบวนแห่ประเพณีสงกรานต์ การแสดงทางวัฒนธรรมและมหรสพอื่นๆ ... การเล่นสาดน้ำตามประเพณีไทยมักเลนกันวันนี้มากเป็นพิ เศษ



และวันที่ ๑๕ เมษายน เป็นวันเถลิงศก หมายถึง วันขึ้นศกใหม่ เป็นวันทำบุญตักบาตรต้อนรับปีใหม่ ปล่อยนกปล่อยปลา อุทิศส่วนกุศลแก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว มีการรดน้ำดำหัวผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้ที่เคารพนับถือ เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษและขอพรปีใหม่เพื่อเป็นศิริมง คลต่อชีวิต ตลอดจนจัดให้มีการสรงน้ำพระสงฆ์ พระพุทธรูป สิ่งศักดิ์สำคัญคู่บ้านคู่เมืองอีกด้วย ..วันนี้ยังมีการเล่นสาดน้ำอยู่เช่นกัน แต่ในส่วนของตำนานวันสงกรานต์รวมถึงประเพณีที่เกี่ยว ข้องกับนางสงกรานต์นั้น มีหลักฐานปรากฏในหลักศิลาจารึกของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (เนื้อหาอ่านตรงตำนานวันสงกรานต์)
Miscellaneous

ร่วมแสดงความเห็น

ติดต่อเรา