ประมวลเรื่องเพื่อความทรงจำ มานี...มานะ...และผองเพื่อน (ยังจำได้ไหม?)



ได้เมลล์มาฉบับนึง อ่านแล้วชอบมาก อ่านแล้วอยากกลับไปหาหนังสือสมัยเด็กๆ กลับมาอ่านใหม่อีกที

ยังจำกันได้หรือเปล่า จากบทเรียนสมัยประถมอ่ะ มานี...มานะ...และผองเพื่อน



จะมีใครสักกี่คนที่ทราบว่าตัวละครหลายๆตัวแท้ที่จริงแล้วมีนามสกุลปรากฎในเรื่องด้วย

เช่น มานี มีนามสกุลว่า รักเผ่าไทย, ปิติ พิทักษ์ถิ่น, วีระ ประสงค์สุข, ดวงแก้ว ใจหวัง และชูใจ เลิศล้ำ



ภาพประกอบในเรื่องมีคนวาดทั้งหมด 3 ท่าน หนึ่งในนั้น คือ คุณเตรียม ชาชุมพร

นักวาดการ์ตูน และนิยายภาพชื่อดังแห่งชัยพฤษ์การ์ตูน ซึ่งได้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์เมื่อเกือบสิบปีที่แล้ว

ครูประจำชั้นที่ปรากฎในเรื่องมี 2 คน คือ คุณครูไพลิน เป็นครูประจำชั้นตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ปีที่ 3 อีกคนคือ

คุณครูกมล เป็นครูประจำชั้นตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงปีที่ 6 แบบเรียนนี้ไม่ได้มีเฉพาะเรื่องราวของเด็กๆเท่านั้น

แต่ยังมีพระเอกกับนางเอกด้วย ซึ่งก็คือ เกษตรอำเภอที่ชื่อว่า "ทวีป" และคุณครู "ไพลิน" สองหนุ่มสาวพบกันครั้งแรก

เมื่อคราวไฟไหม้ตลาด เด็กๆเป็นตัวเชื่อมให้ได้รู้จักและแต่งงาน ทั้งคู่มีลูกสาวด้วยกัน 1 คน โดยปกติแล้วหมากับแมว

มักจะเป็นคู่อริกันเสมอ แต่ในแบบเรียนเล่มนี้ "เจ้าโต" กับ "สีเทา" หยอกเล่นกันด้วยความเป็นกันเองเหมือนไม่มี

พรหมแดนแห่งความเป็นศัตรู



ครั้งหนึ่ง "ปิติ" เคยถูกสลากออมสินเป็นเงินจำนวน 1 หมื่นบาท ซึ่งเงินส่วนนี้เขาได้นำไปซื้อลูกม้าตัวใหม่และ

ตั้งชื่อให้ว่า "เจ้านิล" ซึ่งทดแทนเจ้าแก่ที่ตายไป นอกจากเนื้อเรื่องที่สนุกน่าติดตามแล้ว ในส่วนท้ายของแบบเรียนยังมี

ประมวลคำศัพท์ที่อธิบายที่เข้าใจง่ายและเหมาะสมสำหรับเด็ก ยกตัวอย่างเช่น ภรรยา (พัน-ระ-ยา) หมายถึง ผู้หญิงที่อยู่กิน

กับผู้ชาย ผัว หมายถึง ชายที่มีผู้หญิงอยู่กินด้วย

"เจ้าจ๋อ" ลิงของวีระเป็นลิงแสม ชอบถอนขนลูกไก่ และยังเกลียดกลิ่นกะปิ วีระจัดเป็นเด็กที่ค่อนข้างอาภัพ

พ่อของเขาเป็นทหารและตายในสนามรบตั้งแต่วีระยังอยู่ในท้อง ส่วนแม่ของเขาก็ตรอมใจตายตามพ่อเขาไปหลังจากที่

คลอดวีระได้ 15 วัน ชีวิตทั้งหมดของวีระจึงอยู่กับลุงตั้งแต่เกิด

"เพชร" มีบ้านเกิดอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี ส่วนบ้านเกิดของ "ดวงแก้ว" อยู่ที่จังหวัดสุพรรณบุรี



บทบาทของ "จันทร" ที่คนส่วนใหญ่จำได้คือ เด็กหญิงที่มีขาพิการ แต่มีใครทราบบ้างว่า ในตอนท้ายของเรื่อง

เธอได้รับคัดเลือกให้ร้องเพลง "ความฝันอันสูงสุด" และยังอ่านทำนองเสนาะเฉพาะพระพักตร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

จนได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าให้แพทย์หลวงรับตัวไปรับการผ่าตัดขาที่กรุงเทพฯ จนหายเป็นปกติ ในงานกาชาด

ของจังหวัด ห้องของครูกมลนำขนมออกขายเพื่อเอากำไร โดยตั้งชื่อขนมเสียใหม่ ซึ่งแสดงถึงความช่างคิดของผู้ประพันธ์ดังนี้

กล้วยฉาบ ตั้งชื่อว่า เหรียญทองชวนลิ้ม

ข้าวเม่าหมี่ ตั้งชื่อว่า สาวน้อยเลือกคู่

ทองม้วน ตั้งชื่อว่า ม้วนเสื่อนางพญา

ทองหยอด ตั้งชื่อว่า น้ำค้างทอง

ถั่วอบเนย ตั้งชื่อว่า ถั่วอบโอชา

ขนมกง ตั้งชื่อว่า ล้อรถพระอาทิตย์



"ชูใจ" อยู่กับย่าและอามาตั้งแต่เล็ก โดยที่เธอไม่รู้ราบละเอียดใดๆเกี่ยวกับพ่อและแม่แท้ๆของเธอเลย ความจริงก็คือ

พ่อของเธอเสียชีวิตตั้งแต่ชูใจอายุ 1 ขวบ ส่วนแม่ก็อาศัยอยู่ต่างประเทศในตอนท้ายของแบบเรียน แม่ของชูใจบินกลับมารับให้

ชูใจไปอยู่ด้วยกัน แต่ชูใจเลือกที่จะอยู่กับย่าซึ่งเลี้ยงตนมาตลอดตั้งเด็ก นอกจากเรื่องที่ "เจ้าแก่" ตายจะเป็นตอนที่เรียกน้ำตาของเด็กๆแล้ว ยังมีตอนหนึ่งซึ่งเศร้าไม่แพ้กัน นั่นคือ "แม่จ๋า" เป็นตอนที่แม่ของเพชร "เพชร" ตายเพราะถูกงูกัด ขณะไปเก็บหน่อไม้

"มานะ" เป็นเด็กเรียนดี และเป็นคนเดียวในเรื่องที่ได้ไปเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาที่กรุงเทพฯ ส่วน "มานี" ตอนที่เรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้รับคัดเลือกให้เป็นรองประธานนักเรียนของโรงเรียน









แล้ว...เราก็ได้พบกัน ( ต่ออีก Reply นะครับ ตัวหนังสือเกิน)

Miscellaneous

ร่วมแสดงความเห็น

ติดต่อเรา