สิ่งเล็กๆที่มองข้ามไป......

โลกของเพื่อนตัวจิ๋ว

ทำไมมดถึงชอบน้ำตาล มดเกิดมาจากไหน มดว่ายน้ำได้หรือเปล่า

ทำไมมดถึงตัวเล็ก . . . และอีกสารพัดข้อสงสัยเกี่ยวกับสัตว์ตัวเล็กที่ชื่อว่า

"มด" อาจไม่ใช่คำถามที่มาจากเด็กๆเท่านั้นแม้แต่ผู้ใหญ่บางคนก็อาจสงสัยเช่นนี้

เหมือนกัน เพราะคนส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญกับความยิ่งใหญ่เสมอโดยที่ละเลย

สิ่งเล็กๆ น้อยๆใกล้ตัวเสมอ

มิติของมดที่คุ้นเคยกันนั้นมักเป็นภาพผู้ร้ายกัดเจ็บที่สร้างความรำคาญ

มากกว่าแมลงตัวเล็กที่สร้างคุณประโยชน์มากมายให้แก่โลกใบนี้มานานถึง 30 ล้านปี

โดยเฉพาะบทบาทในการรักษาระบบสมดุลและความหลากหลายของธรรมชาติให้ยั่งยืน

มดบางชนิดสามารถควบคุมและลดจำนวนประชากรแมลงศักตรูพืชได้ นอกเหนือจาก

การช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินทั้งด้านกายภาพและเคมี รวมถึงย่อยสลายซากพืชและ

เป็นดัชนีบ่งชี้ถึงความสมบูรณ์ของป่าไม้ ทั้งนี้เพราะมดบางชนิดเช่น มดแดง จะอาศัยอยู่ใน

พื้นที่ป่าที่ถูกทำลายแล้วหรือป่าที่เสื่อมโทรมแล้วเท่านั้น

นอกเหนือจากประโยชน์และโทษของมดที่รู้จักกันอย่างผิวเผินแล้ว ยังมี

เรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับมดอีกมากมาย ทั้งลักษณะสังคม ความสัมพันธ์ภายในรัง วงจรชีวิต

การสื่อสาร การพึ่งพาอาศัยร่วมกับแมลงกลุ่มอื่นและกับพืช

อาหารโปรดของมดคือน้ำตาล แมลงและเมล็ดพืช ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิด

ของมด แต่แมลงก็ถือเป็นแหล่งโปรตีนสำคัญขอมดในขณะน้ำตาลเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญ

ดังนั้นมดจึงมีความรู้สึกค่อนข้างไวต่อกลิ่นอาหารหวาน สำหรับเมล็ดพืชนั้นมดจะคาบ

เข้าไปในแอ่งที่อยู่ภายในรัง จากนั้นตัวอ่อนมดจะกัดแทะให้อ่อนนุ่มด้วยน้ำลาย และในรังมด

หนึ่งรังอาจมีการสะสมอาหารที่เป็นแมลงมากถึง 2400 ตัวต่อวันเลยทีเดียว

สังคมของมดมีการแบ่งปันของเหลวรสหวานโดยการจูบปากกัน - 3-

เพราะมดจะขนอาหารเหลวที่มีรสชาติหวานโดนการดูดเก็บไว้ในกระเพราะ พอกลับถึงรัง

ก็จะสำรอกออกมาเมื่อกรามถูกเคาะเบาๆ ด้วยหนวดของมดอีกตัวหนึ่ง จากนั้นมดก็จะปล่อยน้ำ

หวานผ่านทางปากของมดอีกตัว ทั้งนี้มดมีกระเพราะ 2 แห่ง โดยแยกเป็นส่วนที่มีไว้สำหรับ

น้ำหวาน และส่วนกระเพราะแท้จริงซึ่งอยู่ด้านหลังที่มีลิ้น ปิด-เปิด

มดนับเป็นสัตว์สังสมที่แท้จริงเพราะอาศัยรวมกันเป็นกลุ่ม และภายในกลุ่ม

แบ่งออกเป็นวรรณะต่างๆประกอบด้วย ราชินี มดเพศเมียที่สืบพันธ์ได้ 1 ตัวหรือมากกว่า 1

ตัว มดเพศผู้จำนวนเล็กน้อย มดงานสำหรับหาอาหารจำนวนมากซึ้งเป็นเพศเมียเช่นกัน

แต่เป็นหมัน มดบางชนิดอาจมีวรรณะทหารด้วย คือ มดเพศเมียแต่เป็นหมันและมีขนาดใหญ่

กว่า ศักยภาพของมดงานนั้น ถึงแม้ขนาดเล็กแต่ก็แข็งแรงมาก มดงานขนาดน้ำหนักตัว

0.004 กรัม สามารถเดินในขณะที่ยกวัตถุหนัก 5 เท่าตัวของน้ำหนักตัวเองได้ด้วยปาก

และลากวัตถุที่หนักถึง 25 เท่าของน้ำหนักตัวได้

ภายในรังมดแบ่งออกเป็นห้องๆ อย่างชัดเจนตามหน้าที่ เช่น ห้องสำหรับ

ตัวหนอน ห้องเก็บอาหาร ห้องทิ้งขยะและห้องราชินี ทั้งนี้รังมดรังหนึ่งอาจมีสมาชิกถึง

10ล้านตัวเลยทีเดียว แต่ในจำนวนนี้จะมีมดราชินีเพียงตัวเดียวเท่านั้นที่จะได้รับการ

ผสมพันธ์ ถึงแม้จะมีมดเพศเมียจำนวนมากก็ตามที สำหรับมดเพศผู้จะเผยโฉมเพียงปีละครั้ง

และอยู่ในรังเพื่อรอวันผสมพันธ์ ก่อนจะออกไปตายนอกรัง ซึ่งโดยปกติแล้วจะไม่ค่อย

พบมดเพศผู้ในรัง

ปัจจุบันทั่วโลกมีมดที่ได้รับการจัดจำแนกชื่อแล้วไม่น้อยกว่า 15,000

ชนิด 300 สกุล 6วงศ์ย่อย สำหรับมดในเมืองไทยคาดการณ์ว่ามีมดประมาณ

800 - 1,000 ชนิด แต่ที่ผ่านมาไม่ปรากฏการจัดเก็บอย่างจริงจังเนื่องจาก

ขาดข้อมูล จนกระทั่งกลางปี 2540 จึงมีการศึกษาอย่างจริงจังจากผู้เชี่ยวชาญ

จากประเทศญี่ปุ่นได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดเก็บ จำแนก แก่

ร.ศ.เดชา วิวัฒน์วิทยา อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยรวบรวมตัวอย่างมดจากทั่วประเทศ

กอปรกับการจัดตั้งเครือข่ายมด Anet ขึ้นอย่างเป็นทางการ

ประสบความสำเร็จเมื่อปลายปี 2543 โดยมีประเทศสมมาชิกคือ ญี่ปุ่น ไทย

มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฮ่องกง เกาหลีใต้ ศรีลังกา ออสเตรเลีย เยอรมนีและ

เนเธอร์แลนด์ มีศูนย์กลางเครือข่ายอยู่ที่มาเลเซีย และจัดประชุมร่วมกันเป็นประจำทุกปี

ไทยในฐานะประเทศสมาชิกตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการจัดตั้งเครือข่าย

มดในประเทศ Anet Thaiและพิพิธภัณฑ์มดจึงถือกำเนิดขึ้นโดยมี

คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นแกนนำ และนับเป็นเครือข่ายมดแห่งแรก

ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเป้าหมายเพื่อเชื่อมโยงการทำงานระหว่าง นักวิจัยกับหน่วย

งานต่างๆและได้การยอมรับจากเครือข่ายมดทั่วโลกในการศึกษามดตลอดจนแลกเปลี่ยน

ข้อมูลต่างๆที่สำคัญเพื่อนำความรู้เกี่ยวกับมดไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

อาจารย์เดชา ในฐานะผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์มดแห่งแรกในเมืองไทยบอกเล่าถึง

ความสนใจแรกเริ่มว่า ถึงแม้มดจะเป็นสัตว์ตัวเล็ก แต่ก็เป็นเรื่องใกล้ตัวที่เกี่ยวข้องกับ

คนทุกกลุ่มทุกระดับ และยังไม่ค่อยมีการศึกษาเรื่องนี้กันจริงจัง ที่สำคัญคือพิพิธภัณฑ์ทั่วไปไม่

สามารถอำนวยประโยชน์ให้กับคนทุกกลุ่มได้ จึงอยากสร้างให้พิพิธภัณฑ์มดสามารถนำงานวิจัย

ไปสู่การใช้ประโยชน์มากขึ้น ขณะเดียวกันก็อยากให้คนรู้จักมดในเชิงบวกมากกว่าเชิงลบ

ด้วยความคาดหวังว่า ผู้ที่เข้าชมจะนำความรู้ไปประยุกต์ไปใช้ได้ และเป็นโครงการณ์นำร่อ

งสำหรับนักวิจัยในการศึกษาเรื่องอื่นๆอ่างจริงจังมากขึ้น

ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์มดมีตัวอย่างมดเปียกที่ดองในแอลกอฮอล์มากกว่า 100,000

ตัว และมีตัวอย่างแห้งที่เก็บรักษาแบบถาวรได้มาตรฐานสากลของอนุกรมวิธานด้านมดมากกว่า 10,000

ตัว เป็นตัวอย่างมดในเมืองไทย 512 ชนิด 87สกุล 9วงศ์ย่อย และตัวอย่างมดจากต่างประเทศ

150 ชนิด 65สกุล 10วงศ์ย่อย



cradit : KINNAREE /VOL.18 /NO.12 /ธันวาคม 2001
Miscellaneous

ร่วมแสดงความเห็น

ติดต่อเรา