เพลงชาติไทยพศ.2475 พร้อมเนื้อร้อง และ ประวัติเพลงชาติไทย

มีโอกาสได้หาข้อมูลส่งอาจารย์เลยนำมาลง เปิดหมวดใหม่ครับ

เพลงชาติ ถือเป็นเพลงinterหรือเปล่า ผมก็ไม่ทราบเหมือนกัน ><

เนื่องจากเป็นเพลงที่หายากมากๆ ถึงจะมีลิขสิทธิ์ก็ตาม :D



"เราต้องรักชาติ เราต้องบำรุงศาสนา เราต้องรักษาพระมหากษัตริย์"

อย่าลืมคำปฏิญาณที่เคยพูดกันตอนเข้าแถวทุกๆเช้านะคับ ^^



ชื่อเพลง:เพลงชาติไทย ฉบับ พ.ศ. 2475

ศิลปิน :แตรวงฝรั่งวงใหญ่ทหารเรือ

อัลบั้ม :เพลงชาติ 1



แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง

ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตแดนสง่า

สืบเผ่าไทยดึกดำบรรพ์โบราณลงมา

รวมรักษาสามัคคีทวีไทย

บางสมัยศัตรูจู่โจมตี

ไทยพลีชีพร่วมรวมรุกไล่

เข้าลุยเลือดหมายมุ่งผดุงผะไท

สยามสมัยบุราณรอดตลอดมา

อันดินสยามคือว่าเนื้อของเชื้อไทย

น้ำรินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า

เอกราชคือเจดีย์ที่เราบูชา

เราจะสามัคคีร่วมมีใจ

รักษาชาติประเทศเอกราชจงดี

ใครย่ำยีเราจะไม่ละให้

เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินของไทย

สถาปนาสยามให้เทิดไทยไชโย



ข้อมูลสำหรับผู้ร่วมแสดงความเห็น

ต้องร่วมแสดงความเห็นในหัวข้อนี้ก่อนจ้ะ จึงจะเห็นข้อมูลส่วนนี้




[spoil=ประวัติเพลงชาติครับ ยาวมากๆ เลยซ่อนไว้ครับ]วาไรตี้ : เพลงชาติไทย เพลงสำคัญของแผ่นดิน



ในความเป็นมาของเพลงชาติก่อนจะมาเป็นเพลงชาติปัจจุบันที่ดัง ก้องในเวลา 08.00 น. และ 18.00 น. ของทุกวัน ที่ผ่านมาได้มีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง ซึ่งความคิดในเรื่องเพลงประจำชาตินั้นมีมาแต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ 5 และจากเพลง จอมราช จงเจริญ ที่พระยาศรีสุนทรโวหาร ประพันธ์เนื้อร้องขึ้นใหม่ใช้เนื้อเพลง กอดเซฟเดอะควีน (God Save the Queen) ของประเทศอังกฤษเป็นเพลงชาติ



มาถึง บุหลันลอยเลื่อน พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธ เลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ซึ่งเรียบเรียงใหม่ให้มีความเป็นสากล เพลงสรรเสริญพระบารมี เพลงชาติมหาชัย จวบถึง เพลงชาติไทยฉบับพระเจนดุริยางค์ผู้ประพันธ์ทำนอง ส่วนเนื้อร้อง เป็นของหลวงสารานุประพันธ์ที่แต่งขึ้นในนามกองทัพบกที่ได้ยินได้ ฟังกันในปัจจุบัน โอกาสนี้ขอขยายเล่า เกร็ดความเป็นมาของเพลงชาติไทย นำ เนื้อเพลงที่เคยใช้มาให้ได้รู้จักกันอีก ครั้ง โดยเรียบเรียงจาก สูจิบัตรนิทรรศ การ 110 ปี ศ.พระเจนดุริยางค์ฯ ส่วนหนึ่งของข้อมูลเพลงชาติไทยที่ห้องสมุด ดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธรรวบรวมไว้ นอกจากนี้ที่นี่ยังมีเทปเพลงชาติ โน้ตเพลงให้ผู้ที่สนใจเพลงสำคัญ ๆ ของไทยได้ศึกษาสืบค้นร่วมด้วย



หลังการเปลี่ยนแปลงการ ปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดี กระทรวงธรรมการ ซึ่งต่อมาเป็นประ ธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรกได้แต่ง เพลงชาติขึ้นเพื่อปลุกใจให้คนไทยรัก ชาติ สมัครสมานสามัคคี ตลอดจนเกิด ความเลื่อมใสในรัฐธรรมนูญ ทำนอง ร้องใช้ทำนองเพลงมหาชัย ซึ่งมีบท ร้องที่ว่า “สยามอยู่คู่ฟ้าอย่าสงสัย เพราะชาติไทยเป็นไทยไปทุกเมื่อ



ชาวสยามนำสยามเหมือนนำเรือ ผ่านแก่งเกาะเพราะเพื่อชาติพ้นภัย



เราร่วมใจร่วมรักสมัครหนุน วางธรรมนูญสถาปนาพาราใหม่



ยกสยามยิ่งยงธำรงชัย ให้คงไทยตราบสิ้นดินฟ้า”



เพลงมหาชัยก่อนนี้จะนิยมใช้บรรเลงรับเสด็จเจ้านายชั้นสูงหรือข้าราช การชั้นผู้ใหญ่ จากทำนองนี้ไม่เป็นที่พอใจต่อมาจึงดำริให้มีเพลงชาติแบบสากลที่แต่งขึ้นพิเศษ จึงได้มีการติดต่อให้ พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยกร) แต่งทำนอง เสร็จแล้วให้ขุนวิจิตรมาตรา แต่งคำร้องประกอบเป็นเพลงชาติใช้ร้องกันทั่วไป ดั่งเนื้อเพลงที่ว่า “แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง ไทย เข้าครองตั้งประเทศเขตแดนสง่า



สืบชาติไทยดึกดำบรรพ์โบราณลงมา ร่วมรักษาเอกราษฎร์ชนชาติไทย



บางสมัยศัตรูจู่มารบ ไทยสมบทสวนทัพเข้าขับไล่



ตะลุยเลือดหมายมุ่งผดุงไผท สยามสมัยบุราณรอดตลอดมา



อันดินแดนสยามคือว่าเนื้อของชาติไทย น้ำรินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า



เอกราชคือกระดูกที่เราบูชา เราจะสามัคคีร่วมมีใจ



ยึดอำนาจกุมสิทธิ์อิสระเสรี ใครย่ำยีเราจะไม่ละให้



เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินไทย สถาปนาสยามให้เชิดชัย ชโย”



เนื้อเพลงนี้ใช้ร้องกันมากแต่ ทางราชการก็ยังไม่ประกาศจนปี พ.ศ. 2477 รัฐบาลตั้งคณะกรรมการพิจารณาเพลงชาติอย่างจริงจังขึ้น มีพระเจ้าวร วงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงเป็นประธาน คณะกรรมการชุดนี้ได้พิจารณาทำนองเพลงซึ่งผู้ชำนาญ ดนตรีแต่งเสนอให้คัดเลือกซึ่งก็มีเพลงของพระเจนดุริยางค์รวมอยู่ด้วย ในการตัดสินมีทั้งแบบไทยและแบบสากล แบบไทย ได้แก่เพลงของจางวางทั่ว พาทยโกศล แต่งขึ้นจากเพลงไทยที่ชื่อว่า ตระนิมิต ส่วนเพลงสากลได้แก่เพลงของพระเจนดุริยางค์



ต่อมาคณะกรรมการมีความเห็นว่าเพลงชาติควรอยู่ในลักษณะศักดิ์สิทธิ์ ถ้ามีสองเพลงอาจทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ลดลงจึงพิจารณากันใหม่ ในที่สุดตกลงให้มีเพลงเดียวทำนองสากลของพระเจนดุริยางค์ จากนั้นได้มีการประกวดบทร้องที่แต่งให้เข้ากับทำนองที่คณะกรรมการรับรอง ซึ่งตัดสินให้บทร้องที่ขุนวิจิตรมาตราที่แต่งไว้เดิมกับบท ของ ฉันท์ ขำวิไล เป็นบทร้องที่ได้ รับรางวัล แต่ท้ายสุดเลือกบทร้องของ ขุนวิจิตรมาตรา เป็นบทร้องชนะเลิศแต่ต่อมาก็ได้แก้ไขถ้อยคำบางแห่ง



บทร้องเพลงชาติของขุนวิจิตร มาตราประกาศเป็นทางการ เมื่อวันที่ 20 ส.ค. 2477 ร้องติดต่อกัน 4 เที่ยวตามลำดับซึ่งโดยทั่วไปจะร้องกันเพียง 2 เที่ยว ซึ่งจริง ๆ แล้วร้อง 2 เที่ยว ก็ยาวมากประกอบกับมีผู้ปรารภว่าในบรรดาเพลงชาติของชาติต่าง ๆ ชาติใหญ่ชาติสำคัญมักใช้เพลงสั้น ๆ แต่ชาติเล็กใช้เพลงยาว จนมีการกล่าวกันในหมู่ผู้ร้องเพลงประจำชาติว่า ชาติยิ่งเล็กเพลงยิ่งยาว ชาติยิ่งใหญ่เพลงยิ่งสั้น...



แต่ความจริงจะเป็นอย่างไรก็ ตาม ในปี พ.ศ. 2478 ได้มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอีกครั้ง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดเป็นเพลงชาติใหม่นอกจากเนื้อร้องที่ค่อนข้างยาว บางท่อนพอร้องจริงเสียงเพี้ยนไม่ตรงตามคำที่ปรากฏ อย่าง วรรคต้นเวลาที่ร้องฟังได้ว่า แผ่นดินสยามนามประเทื้องว่าเมืองทอง ส่วนในวรรคที่ 3 ออกเสียงเป็น สืบเผ่าไทยดึกดำบั้นโบหร่านล้งมา ฯลฯ แต่ที่สำคัญสุดคือการเปลี่ยนชื่อประเทศจาก สยาม มาเป็น ไทย



ในปี พ.ศ. 2482 เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงชื่อเป็นเหตุผลสำคัญของการแก้ไขบทร้องเพลงชาติ การแก้ไขครั้งนี้มิใช่แก้คำว่าสยามเป็นไทยเท่านั้น แต่ต้องการให้เป็นบทร้องที่ร้องจบได้เพียงเที่ยวเดียวและเป็นบทร้องที่ใจความถึงขนาดจริง ๆ



ทางรัฐบาลจึงประกาศประกวด ขึ้นใหม่ ซึ่งผลประกวดผู้ชนะได้แก่ พันเอกหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) ซึ่งส่งในนามกองทัพบก สำนักงานนายกรัฐมนตรีจึงประกาศไว้ ในรัฐนิยมวันที่ 10 ธ.ค. 2482 มีใจ ความสรุปได้ว่า ทำนองเพลงชาติให้ใช้ ทำนองเพลงของพระเจนดุริยางค์ ตาม แบบที่มีอยู่ ณ กรมศิลปากร เนื้อร้อง ใช้บทเพลงของกองทัพบกดังกล่าวไว้ ข้างต้น



นอกจากนี้ในส่วนของทำนองเพลงชาติที่พระเจนดุริยางค์แต่งขึ้นนั้นมี ที่มา จากบันทึกอธิบายไว้ว่าเกิดขึ้นขณะ เดินทางไปปฏิบัติราชการซึ่งขึ้นรถรางประจำทางจากถนนสุริยวงศ์มาเปลี่ยนรถที่สี่แยกเอส.เอ.บี. ขณะเดินทางอยู่ในรถรางทำนองเพลงชาติก็เกิดขึ้น



ทั้งหมดนี้ก็คือความเป็นมาของ เพลงชาติไทย เพลงที่มีความหมายเป็น สัญลักษณ์ประจำชาติ แสดงถึงความเป็นเอกราช ความรักชาติ ความภาค ภูมิใจของคนไทยทั้งแผ่นดิน

[/spoil]



International Music Music

ร่วมแสดงความเห็น

ติดต่อเรา