การแข่ง Microsoft Imagine Cup 2006

ใครเก่งทางด้าน programming ก็ลองดูนะครับ





เกี่ยวกับ Imagine Cup



โครงการ Imagine Cup 2006 เป็นการแข่งขันพัฒนาซอฟท์แวร์ระดับโลกที่กระตุ้นให้นักศึกษาสนใจการเรียนรู้ และพัฒนาทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับในประเทศไทยจะเปิดโอกาสให้นักศึกษาไทยได้แสดงปฏิภาณไหวพริบ และความคิดสร้างสรรค์เพื่อก้าวไปสู่การแข่งขันระดับนานาชาติ โดยทีมนักศึกษาไทยที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้ชนะเลิศในการแข่งขันระดับประเทศจะได้รับสิทธิ์ในการเป็นตัวแทนของเยาวชนไทยไปแข่งขันในระดับนานาชาติ ประเทศอินเดียซึ่งจะจัดให้มีขึ้นในเดือนสิงหาคมที่จะถึงนี้



การแข่งขันในโครงการ Imagine Cup 2006 แบ่งประเภทของการแข่งขันออกเป็น 6 ประเภท สำหรับนักศึกษาทั่วโลก ซึ่งไมโครซอฟท์จะเน้นการแข่งขันประเภทการออกแบบซอฟต์แวร์ (Software Design) เป็นหลัก กล่าวคือจะมีการแข่งขันกันในระดับประเทศก่อน ซึ่งผู้ชนะจากการแข่งขันจะได้เป็นตัวแทนประเทศไทยไปร่วมการแข่งขันรอบสุดท้ายที่ประเทศอินเดีย





ระเบียบและขั้นตอนการแข่งขัน



• ผู้แข่งขันต้องมีอายุอย่างน้อย 14 ปี หรือมีอายุ 14 ปีภายในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2548

• ต้องมีรายชื่อเป็นนักเรียนหรือนักศึกษาในสถาบันการศึกษา หรือศึกษานอกโรงเรียน ภายในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2548 เพื่อที่จะมีสิทธิเข้าร่วมการแข่งขัน

• ผู้เข้าแข่งขันต้องมีหลักฐานยืนยันสถานะการเป็นนักเรียน นักศึกษา (เป็นส่วนหนึ่งของการลงทะเบียน) เพื่อที่จะมีสิทธิเข้าร่วมการแข่งขัน

• สมาชิกทุกคนในทีมต้องผ่านกฎเกณฑ์ข้างต้นครบทุกข้อ

• ผลงานทุกชิ้นในการแข่งขันจะเป็นสิทธิของผู้แข่งขัน



การแข่งขันออกแบบซอฟต์แวร์ (Software Design Competition)



การแข่งขันออกแบบซอฟต์แวร์มีเป้าหมายให้นักเรียน นักศึกษา สร้างสรรค์เทคโนโลยีที่ช่วยให้เรามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ผู้เข้าร่วมแข่งขันจะต้องออกแบบและพัฒนาโปรแกรมใหม่ๆ ที่แสดงให้เห็นถึงความสร้างสรรค์บน .NET Framework และ Windows platform



“Technology helps us to live healthier lives”



กติกาการแข่งขันทั่วไป :

• ประเภททีมสูงสุดจำนวน 4 คน

• เป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา เต็มเวลา (full-time)

• ผลงานนำเสนอ และรายละเอียดโครงงานรอบสุดท้ายใช้ภาษาอังกฤษเท่านั้น ส่วนข้อเสนอโครงงานในรอบแรกนั้นสามารถจัดทำเป็นภาษาไทย

• หัวข้อการแข่งขัน “Technology helps us to live healthier lives”



รอบแรก เขียนข้อเสนอโครงงาน Software Design เพื่อการพิจารณาและคัดเลือกจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

• ผู้เสนอโครงงานจัดทำข้อเสนอโครงงาน จำนวน 2 ชุด พร้อม CD. ข้อเสนอโครงงานจำนวน 2 ชุด รายละเอียดประกอบด้วย

o คำนำ หลักการและเหตุผล

o สารบัญ

o วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงงาน

o รายละเอียดการพัฒนาโปรแกรม

 เทคโนโลยีที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรม

 เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรม

 รายละเอียดโปรแกรมที่พัฒนา

 ขอบเขตและข้อจำกัดของโปรแกรมที่พัฒนา

o ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการพัฒนาโปรแกรม

o ปัญหา ความจำเป็น หรือประโยชน์ที่เป็นเหตุผลให้ควรพัฒนาโปรแกรม

o แนวทางในการพัฒนาและประยุกต์ร่วมกับงานอื่นๆ ในขั้นต่อไป

o ข้อสรุปและข้อเสนอแนะ

o เอกสารอ้างอิง (หากมี)

o ภาคผนวก ประกอบด้วย คู่มือการติดตั้ง คู่มือการใช้งาน คู่มือการออกแบบโปรแกรม



รอบสุดท้าย ทีมที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรก จะต้องจัดทำผลงาน ภายในระยะเวลาที่กำหนดพร้อมด้วยชุดโปรแกรมที่จัดทำ (Software Design) บรรจุไฟล์งานฉบับสมบูรณ์ในแผ่น CD จำนวน 3 ชุด ประกอบด้วย

• โปรแกรมที่สามารถใช้งานได้ พร้อมเอกสารอธิบาย

• คุณสมบัติ (Specification) ของผลงาน (ไม่เกิน 5 หน้า)

• เอกสารบทสรุปของผลงาน จำนวน 1 หน้า (Executive Summery)

• การนำเสนอผลงานปากเปล่า (Oral presentation)

• ระบบสถาปัตยกรรม แสดงในรูปแบบ Visual



องค์ประกอบของผลงานที่ต้องมี



• ระบบ Web service ที่สร้างขึ้นเอง

• พัฒนาบน Microsoft.NET Framework 2.0

• ใช้ Visual Studio family (Express, Standard, or Team System) ในการพัฒนา



องค์ประกอบทางเลือกอื่นๆ



• Mobile device

• .NET Compact Framework

• ASP .NET

• SQL Server



เกณฑ์การให้คะแนนรอบแรก



• 40% โจทย์ของผลงาน (Problem Definition) พิจารณาจากการเข้าใจปัญหาและการแก้ปัญหาจากโจทย์ของผลงาน (Problem Definition) และสามารถใช้เทคโนโลยีที่กำหนดในการแก้ปัญหา ภายใต้หัวข้อ “Technology helps us to live healthier lives”



• 60% การออกแบบ (Design) พิจารณาจาก

o ความคิดสร้างสรรค์ - แอพพลิเคชั่นที่ออกแบบสามารถแก้ปัญหาใหม่ๆ หรือมีแนวทางแก้ปัญหาเก่า ในรูปแบบใหม่

o ผลกระทบ - แอพพลิเคชั่นมีผลกระทบต่อผู้คนส่วนมากในวงกว้าง หรือมีผลกระทบกับคนส่วนน้อยในทางลึก

o ประสิทธิภาพ - แอพพลิเคชั่นนั้นสามารถใช้เทคโนโลยีที่กำหนดแก้ไขปัญหาได้ในระดับใด



หลักเกณฑ์การตัดสินและการให้คะแนน



• 15% การกำหนดปัญหา หรือโจทย์ของผลงาน (Problem Definition) ที่จะดำเนินการพัฒนา โปรแกรมซอฟท์แวร์ ภายใต้หัวข้อ “Technology helps us to live healthier lives” เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาด้านเทคนิค



• 60% การออกแบบ (Design) โดยคณะกรรมการมีกฎเกณฑ์การพิจารณา แบ่งตามหัวข้อต่อไปนี้

1. ความคิดสร้างสรรค์ – สามารถแก้ปัญหาใหม่ๆ หรือมีแนวทางแก้ปัญหาเก่าใน รูปแบบใหม่

2. ผลกระทบ – ส่งผลกับคนส่วนใหญ่ในวงกว้าง หรือมีผลเชิงลึกกับคนกลุ่มเล็ก



3. ประสิทธิภาพ – สามารถแก้ไขปัญหาได้ในระดับใด



• 15% การพัฒนาโปรแกรม (Development) พิจารณาจากความสามารถ ในการแบ่งแยกปัญหาเป็นส่วนๆ และสามารถเข้าใจได้



• 10% การนำเสนอ (Presentation) การนำเสนอผลงานจากทีมที่ให้ข้อมูลถึงที่มาที่ไปของผลงาน รายละเอียด ของผลงาน อธิบายถึงสาเหตุและความน่าสนใจของปัญหา การทำงานของระบบ และมีการสาธิตเกิดประโยชน์ นอกจากนั้นแล้วการประเมินผลส่วนหนึ่งจะมาจากความสามารถของแต่ละทีมในการตอบปัญหาจากคณะกรรมการ









คณะกรรมการตัดสิน ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันต่างๆ



• กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT)

• สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟแวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (SIPA)

• ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

• สำนักงานส่งเสริมเครือข่ายวิสาหกิจคอมพิวเตอร์ (สสวค.)

• เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (Software Park)

• บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด





กำหนดการ



• รับสมัคร และจัดส่งข้อเสนอผลงาน 30 พฤศจิกายน 2548 – 31 มกราคม 2549

• ปฐมนิเทศผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ 23 มกราคม 2549

• ประกาศผลการคัดเลือกรอบแรก (10 ทีม) 15 กุมภาพันธ์ 2549

ทางเวบไซต์ www.microsoft.com/thailand

• ผู้ผ่านการคัดเลือกจัดทำผลงาน 15 กุมภาพันธ์ – 9 มิถุนายน 2549

• นำเสนอผลงานและตัดสินรอบสุดท้าย 9 มิถุนายน 2549

• ทีมชนะเลิศเข้าร่วมแข่งขันระดับโลกที่ประเทศอินเดีย กรกฎาคม 2549



รางวัลและรายละเอียด



• รางวัลชนะเลิศ

o ถ้วยรางวัล จาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร และประกาศนียบัตรจาก บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด

o ทุนการศึกษา 50,000 บาท

o ตั๋วเครื่องบินไป-กลับ และที่พักในการเข้าแข่งขัน Imagine Cup 2006 ระดับโลกที่ประเทศอินเดีย มูลค่า 200,000 บาท

o โปรแกรมฝึกฝนทักษะ ณ ศูนย์บ่มเพาะนักพัฒนาซอฟแวร์ (Incubation Program) จากเขตอุตสาหกรรมซอฟแวร์ประเทศไทย (Software Park Thailand)



• รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1

o โล่ห์รางวัลและประกาศนียบัตรจาก บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด

o ทุนการศึกษา 30,000 บาท



• รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2

o โล่ห์รางวัลและประกาศนียบัตรจาก บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด

o ทุนการศึกษา 20,000 บาท



การสมัครเข้าแข่งขัน



หลักฐานในการสมัคร

o สำเนาบัตรประชาชน

o หลักฐานการศึกษา หรือสำเนาบัตรประจำตัวนักศึกษา

o ใบสมัคร คุณสามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ <<< Registration Form.Doc >>>











สมัครแข่งขัน, จัดส่งข้อเสนอโครงการ และ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่

บริษัท แอ๊บโซลูทท์ อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด

เลขที่ 90/25 อาคารสาทรธานี 1 ชั้นที่ 10

สีลม บางรัก กรุงเทพ 10500

โทร. 02-636-8286-7 ต่อ 121/101

โทรสาร. 02-267-8409

Email : [email protected]

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ คุณกนกวรรณ หรือ คุณศิริลักษณ์

Miscellaneous

ร่วมแสดงความเห็น

ติดต่อเรา