[ประสบการณ์เล่าสู่กันฟัง) ภัยแอบแฝงจากวันที่ฝนตก หรือ หน้าฝน
คืนวันที่ 14 เม.ย. เป็นคืนแรกในรอบหลาย ๆ ปีที่ทำให้อะดีนารีนในสมองเราสูบฉีดอย่างแรง
ก่อนจะเข้าเรื่อง ต้องบอกก่อนว่า บ้านเราเป็นบ้านปูนชั้นเดียว รอบบ้านปูกระเบื้อง อยู่ในอำเภอเมือง เขตเทศบาลด้วย (บอกไว้เพื่อกันการเข้าใจผิดคิดว่า บ้านเราบ้านนอก)
เย็นวันที่ 13 เม.ย. พายุฤดูร้อนเข้าจังหวัดลำปาง ฝนตกหนักมากถึงมากที่สุด
ฝนที่ตกลงมาทำมุมกับพื้นประมาณ 10 องศา เรียกได้ว่า เกือบจะขนานกับพื้นอยู่แล้ว
ความเสียหายที่ไปสำรวจมารอบ ๆ เมือง ก็มี ป้ายโฆษณาใหญ่ ๆ ที่เป็นผ้าฉีกขาด ต้นไม้หักพาดสายไฟฟ้าทำให้ไฟดับในบางพื้นที่
แถมตอนที่ขับผ่านถนนเส้นโปรดด้วยความรวดเร็วนั้น เกิดลมพัดแรงจนป้ายโฆษณาแข็ง ๆ ขนาดกว้างคูณยาว ประมาณตัวเรา โดนพัดผ่านหน้ารถเราไปตอนที่เราชะลดรถพอดี (สงสัยเป็นสัมผัสนิวไทป์) ไม่งั้นก็คงเข้าโรงพยาบาลเรียบร้อยแล้ว
ยัง ๆ เรื่องซวย ๆ ยังไม่จบ
สืบเนื่องจากฝนตกทำให้ด้านข้างบ้านที่หมาเราอยู่นั้น เปียกหมด ข้าวในจานข้าวมันก็กลายเป็นข้าวต้ม เราก็เลยไปซื้อลูกชิ้นทอดมาให้มันกิน
กลับมาถึงบ้าน ก็เดินไปหลังบ้าน เพื่อเปิดประตูจากหลังบ้านอ้อมมาข้างบ้าน
ตอนเปิดประตูออกไป เราก็ทำแบบทุกที คือ เปิดแล้วก็ก้าวขาออกไปเลย
จังหวะที่เท้าข้างที่ก้าวออกไปก่อนนั้นสัมผัสพื้น เราก็รู้สึกว่าขนอะไรมาเขี่ย ๆ ข้างเท้าฟ่ะ
ก้มลงมอง "โอ้ว! แม่เจ้า ตะขาบตัวเบ้อเริ่มเลย"
รีบยกเท้าข้างนั้นขึ้นทันที แล้วถอยหลังหนีอย่างรวดเร็ว
ตะขาบมันก็ฉลาดนะ วิ่งหนีแบบชิดขอบกำแพงเลยแหละ สงสัยกลัวโดนตี หรือ กระทืบ
เราก็อึ้ง ๆ ไม่รู้ทำไงดี ?
ซักพักนึงสติสัมปัชชัญญะกลับมา วิ่งเข้าไปในบ้าน เอาไฟฉายแบบสปอร์ตไลท์ออกมาข้างบ้านเพื่อส่องหามัน
มือข้างนึงถือไฟฉาย มือข้างนึงถือไม้กวาด (กะเอาหัวไม้กวาดฟาดกระหน่ำไม่ยั้ง)
ไปเจอมันหลับมุมตรงที่วางของนอกบ้าน เราก็พยายามเคลียร์ของเพื่อให้มันออกมา
เขี่ยไปเขี่ยมา ด้วยความกลัวก็กลัว เลยทำให้จำเลยหนีไปได้
ตอนที่รู้ว่ามันหนีไปได้ ก็เป็นห่วงหมาที่อยู่นอกบ้าน กลัวมันจะโดนตะขาบกัดตาย (ถ้าหมาตายจะรู้สึกผิดมาก)
นั่งเล่น Seal ทั้งคืน เช้าวันที่ 14 เม.ย. พอเห็นว่าหมาไม่เป็นอะไรก็เลิกเล่นเกมส์ แล้วก็หลับไป
มาถึงตรงนี้ ก็นึกว่าตะขาบตัวนั้นไปดีแล้ว
วันที่ 14 เม.ย. ตั้งแต่ตื่นมา ก็อาการ phobia ขึ้นสมองเลย เดินไปตรงไหนในบ้าน ก้มมองเท้าตลอด
เป็นห่วงกังวลว่า มันจะเดินผ่านเท้าเราอีก เกิดมันอยากจะฝากรอยเขี้ยวขึ้นมาจะทำไง ?
ตกลงว่า ช่วงกลางวัน ไม่มีอะไรเกิดขึ้น
และเราก็คิดว่า กลางคืนก็น่าจะไม่มีอะไรล่ะ (มาถึงตรงนี้อาการ phobia เริ่มลดลง)
ตกค่ำ ก็เอาผ้าจากเครื่องซักผ้าไปตากข้างบ้านด้วยความหวาดระแวง
แบบว่า ตากผ้านี่ไม่มองหรอกผ้า มองแต่เท้าตัวเองตลอด
ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลยตอนตากผ้า สรุปเรา phobia ไปเอง
ก็ปิดประตูข้างบ้าน เอาตะกร้าผ้าเข้ามา
เดินเอาตะกร้าไปวางหน้าห้องน้ำ และ เราก็จะเข้าห้องเราเพื่อเปิดคอม
ตอนเปิดประตูห้องเรานั้น เราก็เปิดตามปกติ
เดชะบุญตอนหันไปปิดประตูห้อง เหลือบไปเห็นอะไรที่มุมประตูด้านหน้าห้อง
"โอ้ว! มันคือ หางตะขาบนี่หว่า"
หันมามองด้านหลังประตู(ก็คือด้านห้องเรา) "โอ้ว! หัวตะขาบนี่หว่า"
สรุปแล้วก็คือมันมาอยู่ตรงนี้ได้ไงฟ่ะ ?
อาการ phobia เริ่มสำแดงเดช สติหาย ปัญญาไม่เกิด สับสนมาก ว่าจะทำไงดี ?
เพราะในห้องเรา ค้อนก็ไม่มี
ลองงับประตูดูปรากฏว่า ประตูมันหนีบตัวตะขาบไว้เลย เราก็เลยตัดสินใจงับประตูไว้ดีกว่า กันมันหนี
จากนั้นก็เริ่มคิดว่า จะฆ่ามันยังไงดี ?
เอารองเท้าฟองน้ำที่ใส่เดินในบ้าน ฟาด ๆ ๆ มันไม่เป็นอะไรเลย แถมดีดดิ้นอีกต่างหาก
ตัดสินใจ ใส่รองเท้าผ้าใบที่เอาไว้ในห้อง
แล้วสวมบทคนโฉด บรรจงวางเท้าที่ใส่รองเท้าแล้ว(เบอร์ 10) บนลำตัวของตะขาบ แล้วค่อย ๆ ขยี้ ๆ ๆ ตะขาบเหมือนก้นบุหรี่
ก็ขยี้มันจนแน่นิ่ง คิดในใจว่า มันแกล้งตายแน่ ๆ
วิ่งไปนอกบ้าน เอาเหล็กคืบมันคีบมันลงถุงพลาสติก (ตอนที่คีบลงไปไว้ในถุงแล้วนั้น ปรากฏว่า มันดีดดิ้นได้เหมือนเดิม)
คิดในใจด้วยหลักเหตุผลตามพุทธศาสนาว่า
ตะขาบตัวนี้ ต้องเป็นเจ้ากรรมนายเวรของเราแน่ ๆ ไม่งั้นเมื่อวาน มันน่าจะหนีไปที่อื่นแล้วซิ แต่นี่กลับพยายามเข้ามาในห้องเรา เพื่ออะไร ?
ก็ถือว่า เหตุการณ์ครั้งนี้ บุญของเราคงชนะบาป ไม่งั้นตอนนี้ก็คงไม่ได้เขียนเล่าให้ใครฟัง
หลายคนที่อ่านอาจจะคิดว่า คนเขียนเว่อร์
แต่เราอยากจะบอกว่า ผึ้ง แมงมุม งู แมงป่อง ตะขาบ ถ้าเราไม่แพ้พิษมันก็ไม่เป็นอะไรนะฮะ แต่ถ้าแพ้พิษมันโดนต่อยหรือกัดครั้งเดียวนี่ไปเที่ยวยมโลกได้เลยนะฮะ
เพราะฉะนั้นที่เขียนมาทั้งหมดนี้ก็เพื่ออยากจะเตือนให้ผู้อ่านระวังไว้นิดนึงก็ดีในวันที่ฝนตกหรือฤดูฝนมาเยือน เพราะสัตว์พวกนี้มันหนีน้ำเสมอ
รูปแถม สภาพผู้บาดเจ็บสาหัสก่อนส่งเข้าถุงพลาสติก
ขนาดของผู้บาดเจ็บสาหัส ประมาณคืบใหญ่ ๆ (คืบนิ้วโป้งกะนิ้วกลางน่ะฮะ)
อยากรู้เรื่องสัตว์มีพิษ :
http://www.thaitrip4u.com/Web/Webboard/STH11.asp?QID=671
Miscellaneous